จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กินกล้วยต้านโรค

 

 

กินกล้วยต้านโรค (Lisa)

กล้วย มีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงได้หลายพันปี หลายปีมาแล้ว เชื่อกันว่ากล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนปลูก เพื่อเป็นอาหาร ประเทศไทยเราชื่อแน่ว่าปลูกกล้วยกินมานานมากแล้ว จดหมายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 300 กว่าปีมาแล้วก็กล่าวถึงเรื่องของกล้วย และยังมีผู้สำรวจและกล่าวว่ากล้วยหลาย 10 พันธุ์มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่คนไทยกลับนิยมกินกล้วยกินน้อยมาก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่าเป็นผลไม้ของคนยาก เนื่องจากราคาถูก จึงถูกจัดให้เป็นผลไม้เกรดต่ำ นำมาขึ้นโต๊ะรับแขกไม่ได้ แขกจะถูกแย่ว่าเลี้ยงกล้วย ต้องไปหาผลไม้แพงๆ ซึ่งความจริงผลไม้ไทยๆ อย่างกล้วยนี้ สุดยอดวิตามินเชียวล่ะ

กินกล้วย-ต้านโรค

ฟังดูชื่อเรื่อง บางคนอาจจะคิดว่า เกินเลยความจริงไปมั้ง

จริง ๆ แล้ว ไม่เกินเลยความจริงเลย กล้วยผลไม้ไทย ๆ ของเรานี่แหละใช้เป็นยาป้องกันและรักษาโรคได้หลายโรค และยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ คือมีทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังมีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย ทางการแพทย์จึงได้เลือกให้กล้วยน้ำว้าสุกเป็นอาหารเสริมในวัยทารก

น้ำตาลที่เกิดขึ้นจากขบวนการเปลี่ยนแปลงของแป้ง ขณะที่กล้วยสุกก็มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อกล้วยตกไปถึงลำไส้จะทำให้ลำไส้มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมง่ายและสมบูรณ์ขึ้น จึงนับว่าน้ำตาลในกล้วยมีคุณค่ากว่าน้ำตาลที่ได้จากธัญพืชอื่น ๆ
สารอาหารโปรตีนที่มีอยู่ในกล้วยน้ำว้า เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับเราอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะมีกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า อาร์จินิน และ ฮีสติดีน ซึ่งกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก

นอกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ในกล้วยแต่ละชนิดยังมีไขมันแม้จะอยู่ในปริมาณที่น้อยก็ตาม

กล้วยแต่ละชนิดจะให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ในปริมาณที่แตกต่างกัน จะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนจากตาราง โดยเปรียบเทียบจากเนื้อกล้วยในปริมาณ 100 กรัม เท่าๆ กัน

ส่วนวิตามินนั้น มองดูผิวเผิน กล้วยแต่ละชนิดสีขาวๆ ทั้งนั้นไม่น่าจะให้วิตามินเอเลย แต่ในกล้วยก็มีวิตามินเออยู่ด้วย แม้จะไม่มากเท่าวิตามินเอที่ได้จากมะละกอหรือมะม่วงสุก แต่ก็มีวิตามินเอมากกว่าผลไม้อีกหลาย ๆ ชนิด เช่น ชมพู่ ส้มโอ น้อยหน่า เป็นต้น ในบรรดากล้วยทุกชนิดนั้น กล้วยน้ำว้าจะมีวิตามินเอมากกว่าเพื่อน สำหรับวิตามินตัวอื่น กล้วยก็มีอยู่ครบทุกชนิดเช่นกัน ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอะซิน

เกลือแร่สำคัญ ๆ ที่มีอยู่ในกล้วยก็คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้อื่น ๆ แล้ว กล้วยนับเป็นผลไม้ที่มีเกลือแร่อยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือเหล็กก็ตาม กล้วยทุกชนิดมีแร่ธาตุมากกว่าผลไม้ชนิดต่าง ๆ ดังนี้
มีธาตุเหล็กมากกว่าแตงโม พุทรา ระกำ ลำไย ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ
มีแคลเซียมมากกว่าชมพู่ มะเฟือง มะไฟ มะยม มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ฯลฯ
มีฟอสฟอรัสมากกว่าลูกเงาะ ชมพู่ แตงไทย แตงโม มะเฟือง มะม่วง มังคุด ระกำ ละมุด แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ
 


ปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากเนื้อกล้วย 100 กรัม
 



หมายเหตุ

จากตารางแสดงคุณค่าอาหารไทย ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กรมอนามัย กรกฎาคม 2530



จากตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยของกองโภชนาการ กรมอนามัย กรกฎาคม 2530
ปริมาณวิตามินในเนื้อกล้วย 100 กรัม



จากตารางแสดงคุณค่าอาหารไทย ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กรกฎาคม 2530

(คัดลอกข้อมูลจาก กินต้านโรค โดย พรพรรณ รพี)



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
 
 
 
แอปเปิ้ล ผลไม้เพื่อสุขภาพ (Slim Up)


         การจำกัดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับคุณผู้หญิง เพราะไหนจะต้องทนต่อความหิวจนกว่าจะผอม แต่พอผอมสมใจกลับโดนทักว่าทำไมดูซีดเซียว ไม่สดชื่น อวบอั๋นเหมือนตอนก่อนลดน้ำหนัก

การรับประทานผลไม้จึงเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งการลดน้ำหนัก และการมีสุขภาพที่สดใส เพราะผลไม้ประกอบไปด้วยเส้นใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องมีน้ำตาลธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็ว และนำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ ผลไม้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกนับไม่ถ้วน ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ไม่ทรุดโทรม จึงเหมาะสำหรับสาว ๆ ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเป็นที่สุด

เมื่อถามคนใกล้ตัวว่า "อยากลดน้ำหนักจะทานผลไม้อะไรดี?" เชื่อว่าคงได้คำตอบกว่าครึ่งเป็นผลไม้รูปร่างอวบอัดที่ชื่อว่า "แอปเปิ้ล" แน่ ๆ เพราะแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีสีสันชวนรับประทาน เนื้อสัมผัสกรอบ รสชาติอร่อย กลิ่นหอม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพง และที่สำคัญคือไม่ทำให้อ้วน แอปเปิ้ลจึงได้ชื่อว่าเป็น "ราชาแห่งผลไม้ลดน้ำหนัก"
 


กินแอปเปิ้ลวันละ 1 ผล ร่างกายแข็งแรง

แอปเปิ้ลให้สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและวิตามินซีเป็นหลัก ซึ่งปริมาณวิตามินซีจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว และความสด เนื้อแอปเปิ้ล 100 กรัม มีวิตามินซีประมาณ 6 มิลลิกรัม และให้พลังงานราว 59 แคลอรี ไม่ทำให้อ้วน แต่แอปเปิ้ลก็มีสารอาหารที่มีประโยชน์ชนิดอื่นทดแทน แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าผลไม้อื่นแต่อย่างใด

พลังงานที่ได้จากแอปเปิ้ลมีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจคือ แอปเปิ้ลจะให้พลังงานค่อนข้างต่ำและค่อยเป็นค่อยไป เพราะแหล่งพลังงานของแอปเปิ้ลคือ น้ำตาลฟรักโทสซึ่งเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอย่างช้า ๆ ในร่างกายช่วยให้ไม่รู้สึกหิว อิ่มนาน ผลที่ตามมาคือ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูงเร็วเหมือนกินขนมหวาน จึงเหมาะกับคนไข้เบาหวานด้วยเช่นกัน

เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่า "เพคติน" ที่มีคุณสมบัติพองตัวได้มาก ช่วยเพิ่มกากในทางเดินอาหาร ทำให้อวัยวะในทางเดินอาหารมีการทำงานเป็นปกติ เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันโรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ แอปเปิ้ลยังอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่และสารอาหารที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 ไบโอติน กรดโฟลิก กรดแพนโทเธอนิค เกลือแร่ คลอไรด์ เหล็ก ทองแดง แมกกานีส แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม ซิลิคอน และยังมีกรดอินทรีย์ 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริก ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน สารอาหารเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน โดยเฉพาะวิตามินซี และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในแอปเปิ้ล จะช่วยป้องกันโรคหัวใจในผู้ที่รับประทานเป็นประจำ

แอปเปิ้ลเขียว หรือแอปเปิ้ลแดง ที่มีประโยชน์มากกว่ากัน

เมื่อวิเคราะห์จากคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ เปรียบเทียบระหว่างแอปเปิ้ลเขียวและแอปเปิ้ลแดง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่แอปเปิ้ลแดงมีเหนือกว่าเล็กน้อยคือ ปริมาณของสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์นั่นเอง

ดื่มน้ำแอปเปิ้ล ก็ได้ประโยชน์เท่ากินทั้งลูก?

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะพบว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลมาจากองค์ประกอบ 3 ตัวด้วยกันคือ จากเส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระที่มีมากบริเวณเปลือก และจากน้ำตาลฟรักโทสที่มีมากในเนื้อแอปเปิ้ล ดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำแอปเปิ้ล ควรเลือกวิธีการปั่นทั้งผล โดยไม่ต้องปอกเปลือก เพราะหากใช้วิธีคั้นน้ำ จะทำให้ได้เฉพาะน้ำตาลและสารต้านอนุมูลอิสระอีกเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้อ้วนได้มากกว่าเดิม และไม่ได้รับประโยชน์ทั้งหมดจากแอปเปิ้ลอย่างครบถ้วน


กินแอปเปิ้ลอย่างไรให้ได้ประโยชน์
ในแง่โภชนาการ แอปเปิ้ลไม่ใช่ผลไม้ที่มีวิตามินหรือแร่ธาตุในปริมาณสูงมากนัก เมื่อเทียบกับกล้วย ฝรั่งหรือส้ม แต่หากทานแอปเปิ้ลวันละ 2-4 ลูก โดยไม่ปอกเปลือกก็จะได้รับเส้นใยอาหารและสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ

ในปัจจุบันมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของแอปเปิ้ลมากมาย เช่น บำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความอยากอาหาร ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งหากต้องการจะรับประทานแอปเปิ้ลสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมน้ำหนักแล้ว ก็ควรต้องทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และผักผลไม้อื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น